วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การใช้ประโยชน์จากดอกดาวเรือง
การใช้ประโยชน์จากดอกดาวเรือง
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมี
ความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย
การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
1. ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ดาวเรืองเป็นได้ดอกที่มีความ สวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น
และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะ สำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและ
สถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ
2. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่น เหม็น (ฉุน) แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็น
เกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่ง
ที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
3. ปลูกเพื่อจำหน่าย
3.1
ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ
หรือพวงมาลัยสำหรับ คล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรือง
สำหรับใช้ประโชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น หรือเหลือเฉพาะดอก
3.2
ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่มีลักษระกลมเรียงตัวกันแน่นเป็น
ระเบียบและมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมา ปักแจกันมาก
ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะ รับแขก ตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบ โต๊ะหมู่บูชา
การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมา ปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18 -
20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ
แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
3.3
การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่
ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคาร สถานที่กันมากขึ้น
เพราะสามารถใช้ประดับ ไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ
งานพระราชทาน ปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคาร บ้านเรือน
การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ ในด้านนี้ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรือง โดยทั่วไป
เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถาง หรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลงดอก
ดาวเรืองเริ่มบานก็นำไปใช้ประโยชน์หรือ จำหน่ายได้
3.4
จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่มี สารแซธโธฟีล (Xanthophyll)
สูง เมื่อตากให้แห้งจะสามารถนำไปเป็นส่วนผสม อาหารสัตว์ได้ดี
โดยเฉพาะอาหารของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีดอกสีส้มแดง
สรรพคุณของดาวเรือง
ใบ : รสชุ่มเย็น มีกลิ่นฉุน ใช้แก้ฝีฝักบัว
ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
ช่อดอก : รสขม ฉุนเล็กน้อย ใช้กล่อมตับ ขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ
ตาเจ็บ ไอหวัด ไอกรน หลอดลมอักเสบ เต้านมอักเสบ คามทูม เรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
และแก้ปวดฟัน
ตำรับยา
1. แก้ไอกรน ใช้ช่อดอกสด 15
ช่อ ต้มเอาน้ำมาผสมน้ำตาลแดงกิน
2. แก้หลอดลมอักเสบ
ใช้ช่อดอกสด 30 กรัม กับจุยเฉี่ยวเอื้อง (Inula
Helianthus-aquatilis C.Y. Wuex Ling) สด 10
กรัม และจี๋อ้วง (Astertataricus L.F.) สด 7
กรัม ต้มน้ำกิน
3. แก้เต้านมอักเสบ ใช้ช่อดอกแห้งเต่งเล้า (paris petiolata
Bak. ex. Forb.) แห้งและดอกสายน้ำฝึ้ง (Lonicera
japonica Thunb) แห้งอย่างละเท่า ๆ กัน
บดเป็นผงผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็น
4. แก้ปวดฟัน
ตาเจ็บ ใช้ช่อดอกแห้ง 10 กรัม ต้มน้ำกิน
ผลทางเภสัชวิทยา
1. ในใบมี Kaempferitrin มีฤทธิ์แก้อักเสบให้หนูตะเภากินขนาด
50 มก./กก.
ของน้ำหนักตัวจะทำให้หลอดเลือดฝอยตีบตันทำให้เลือดหยุด เนื้อหนังเจริญดีขึ้น
มีฤทธิ์แรงกว่ารูติน (Rutin) และมีปริมาณวิตามินพี (Vitamin
P) ค่อนข้างสูง นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก
ที่แยกจากตัวของกระต่าย ทำให้จังหวะการบีบตัวลดลง
2. ดอกมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นได้
เคยใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค และสงบประสาท
เช่นเดียวกับต้น Tagetes minuta L. (T. glandif lora) ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย
มีฤทธิ์สงบประสาท ลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด หลอดลม และแก้อักเสบ
สารเคมีที่พบ
ช่อดอกมี Flavonoid glycosides, tagetiin 0.1%
และสารเรืองแสง Terthienyl 15-21 มก. / กก. ของดอกสด Helenien
74%, B-Carotene Flavoxanthin; Helenien มีคนกล่าวว่ามีผลทำให้เนื้อเยื่อตาดีขึ้น
ใบ มี Kaempferitrin เมล็ด
มีน้ำมัน
เภสัชตำรับของเม็กซิโก
เคยใช้ช่อดอกและใบต้มน้ำกิน ขับลม และขับปัสสาวะ
ในอินเดียน้ำคั้นจากช่อดอก
ใช้ฟอกเลือดและแก้ริดสีดวงทวาร
ในบราซิลใช้ช่อดอกชงน้ำแก้อาการปวดตามข้อ
หลอดลมอักเสบ ใบและช่อดอกชงน้ำกิน ใช้ขับพยาธิ ช่อดอกใช้ภายนอกในโรคตา
และแผลเรื้อรังต่าง ๆ ไปใช้พอกฝี ฝีฝักบัว น้ำคั้นจากใบใช้แก้ปวดหู
รากใช้เป็นยาระบาย
ในไทยใช้น้ำคั้นจากใบ
ผสมน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวจนส่วนน้ำระเหยหมดใช้ทาแผลเปื่อยเน่า ฝีต่าง ๆ
การดูแลรักษาดอกดาวเรือง
1. หลังจากย้ายปลูกลงแปลงครบ
10 วันหรือสังเกตจากดาวเรืองมีใบจริงจำนวน 3
คู่ ให้เด็ดยอดดาวเรืองออก เพื่อให้เกิดการแตกของกิ่งข้างของดาวเรือง
โดยวิธีการเด็ดยอดคือ ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งจับตรงโคนของยอดดาวเรือง ยอดบนสุด
แล้วเด็ดยอดออกพยายามเด็ดยอดให้ชิดโคนยอดและให้ยอดหลุดอย่าให้เกิดบาดแผลจาก
การเด็ดยอด (การเด็ดยอดดาวเรืองควรเด็ดยอดในช่วงเช้าเนื่องจากดาวเรืองจะอวบน้ำอยู่
และหลังจากเด็ดยอดควรพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม ไดเทน)
2. หลังจากเด็ดยอดแล้ว
ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2
กรัม (1 ช้อนชา) ต่อต้น
โดยหว่านปุ๋ยรอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 20
ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช
(ในช่วงนี้หากเป็นฤดูฝนให้เริ่มทำค้างสำหรับป้องกันต้นดาวเรืองล้ม
เพราะหากทำค้างดาวเรืองเกินไปจากช่วงนี้ไปรากของดาวเรืองจะเจริญเติบโตมาก
จะทำให้ในการทำไม้หลักปักค้างดาวเรือง โดนใส่รากดาวเรือง
3. หลังจากย้ายปลูก
35-40 วัน (เริ่มเห็นตุ่มดอก) ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0
อัตรา 2 กรัม (1
ช้อนชา)ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1
กรัม(ครึ่งช้อนชาต่อต้น) โดยหว่านปุ๋ยรอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 20
ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช
ในกรณีที่ต้องใช้ปุ๋ยสองสูตรรวมกันให้ผสมก่อนแล้วค่อยใส่ลงในแปลง
เช่น ผสมปุ๋ย 15-0-0 อัตรา 1,000
กรัม (1 กิโลกรัม) รวมกับปุ๋ยสูตร 0-0-16
อัตรา 500 กรัม (ครึ่งกิโลกรัม)
สามารถนำไปใช้กับต้นดาวเรืองได้ทั้งหมด 500 ต้น ต้นละ 3
กรัม
ในกรณีที่ไม่สามารถหาปุ๋ยสูตร 15-0-0
หรือ 0-0-60 ได้ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
หรือ 16-16-16 แทนโดยใช้ในอัตรา 3
กรัม (ครึ่งช้อนโต๊ะ) ต่อต้นทั้งสองระยะ
หลังการให้ปุ๋ยจะต้องให้น้ำตามทุกครั้งเสมอ
4. การพ่นปุ๋ยทางใบและอาหารเสริม
ช่วงหลังจากย้ายปลูก 35-40 วัน (ช่วงเป็นตุ่มดอก)
ให้เริ่มพ่นอาหารเสริมพวก แคลเซียม – โบรอน และอาหารเสริมต่างๆ
ยกเว้นธาตุอาหารเสริมกลุ่มที่เป็นธาตุเหล็ก (Fe) โดยพ่นทุกๆ
3-4 วันก่อนที่ตุ่มดอกจะเริ่มเห็นสีดอก
ช่วงหลังจากย้ายปลูกแล้วประมาณ 70-75 วัน (เก็บดอกแล้วประมาณ 3-4
มีด) ให้พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 2:2:3 (N:P:K) เช่นปุ๋ยทางใบสูตร 20:20:30
โดยพ่นทุก 5-7 วันประมาณ 2-3
ครั้ง หลังจากพ่นครั้งแรก
5. การให้น้ำดาวเรือง
ดาวเรืองเป็นพืชที่ชอบการให้น้ำในลักษณะให้น้อยๆ แต่บ่อยๆ
ครั้งหรือชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะและน้ำท่วมขัง
โรคและแมลงที่สำคัญต่อดาวเรือง
โรคและแมลงที่สำคัญต่อดาวเรือง
1. โรคเหี่ยว
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน
ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ
อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3
-4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป
ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง
และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
2. โรคราแป้ง
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ
ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก
ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป
ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง
3. โรคดอกไหม้
เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล
โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง
4. เพลี้ยไฟ
เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน
จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ
ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ
หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง
5. หนอนกระทู้หอม
เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน
จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท, แคสเคต
หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด
แมลงศัตรูสำคัญของดาวเรือง
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน
ทำให้ใบหงิกงอแล้วห่อขึ้นไม่ แตกใบใหม่ จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก
จะพบเห็นมากในตอนกลางวัน ตัวเรียวเล็ก สีน้ำตาล ส่วนมากพบใต้ใบ
ใช้สารเคมีพ่นกำจัดเพลี้ยไฟทุกๆ 5-7 วัน หากระบาดมากทุกๆ 2-3
วัน โดยมากในช่วงหลังฝนตก ที่มีความชื้นสูง และอากาศร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นในช่วงสาย
และช่วงบ่าย หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นยาในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
เพราะตัวยาบางชนิดจะทำให้ใบไหม้ได้ (มีระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด)
หนอนชอนใบทำลายใบอ่อนตัวหนอนที่ฟักจากไข่ไชชอนเป็นทางยาวหรือ
สร้างอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายในใบที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกรน
บิดเบี้ยว
มีสารเคมีหลายชนิดที่ใช้สำหรับป้องกันกำจัดหนอนชอนใบ
แต่ช่วงเวลาพ่นสารเคมีสำหรับกำจัดหนอนชอนใบจะต้องกระทำในช่วง 6
โมงถึง 9 โมงเช้าเท่านั้น หากเกษตรกรพ่นในช่วงเวลาอื่นๆ
สารเคมีจะไม่มีผลในการทำลาย (ระบาดในช่วงที่ย้ายปลูกใหม่ๆ ก่อนเด็ดยอด)
ไรแดง
ไรแดงพบมากในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนจัด พบมากในส่วนใต้ ใบ และจะ ลามไป ทั้งแปลง
ไรแดงมีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ขนาดเล็กมาก สีแดงชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม
หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุม คลุมทั้งต้น ใบพืชที่โดยทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ
สีเหลือง แล้วทำให้ใบหงิกงอห่อลงช่วงเวลาการพ่นสารเคมีในช่วง สายและช่วงบ่าย
จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด (มักระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด)
การปลูกดาวเรือง
การปลูกดาวเรือง
1. ไถเตรียมดิน
หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป ประมาณ 1 ตัน/ไร่ ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1
เมตร รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน
2. ขุดหลุมกว้าง 15
เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30
เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15
ประมาณ 1
ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย
เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
3. นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10
วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย
เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
4. หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ
7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี
แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก
เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค
5. เมื่อดาวเรืองอายุ 15
และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15
ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35
และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12
ในอัตราเดียวกัน โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ
ประมาณ ? นิ้ว
ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย
6. ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25
วัน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4
คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่
จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้
แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7
วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่
ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง
7. หลังจากปลูก 40-45
วันในแต่ละกิ่ง เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว
ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่
8. หลังจากนั้นประมาณ 20
วัน ( อายุ 60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้ ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12
ดอก/ต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)