ใบ : รสชุ่มเย็น มีกลิ่นฉุน ใช้แก้ฝีฝักบัว
ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
ช่อดอก : รสขม ฉุนเล็กน้อย ใช้กล่อมตับ ขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ
ตาเจ็บ ไอหวัด ไอกรน หลอดลมอักเสบ เต้านมอักเสบ คามทูม เรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
และแก้ปวดฟัน
ตำรับยา
1. แก้ไอกรน ใช้ช่อดอกสด 15
ช่อ ต้มเอาน้ำมาผสมน้ำตาลแดงกิน
2. แก้หลอดลมอักเสบ
ใช้ช่อดอกสด 30 กรัม กับจุยเฉี่ยวเอื้อง (Inula
Helianthus-aquatilis C.Y. Wuex Ling) สด 10
กรัม และจี๋อ้วง (Astertataricus L.F.) สด 7
กรัม ต้มน้ำกิน
3. แก้เต้านมอักเสบ ใช้ช่อดอกแห้งเต่งเล้า (paris petiolata
Bak. ex. Forb.) แห้งและดอกสายน้ำฝึ้ง (Lonicera
japonica Thunb) แห้งอย่างละเท่า ๆ กัน
บดเป็นผงผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็น
4. แก้ปวดฟัน
ตาเจ็บ ใช้ช่อดอกแห้ง 10 กรัม ต้มน้ำกิน
ผลทางเภสัชวิทยา
1. ในใบมี Kaempferitrin มีฤทธิ์แก้อักเสบให้หนูตะเภากินขนาด
50 มก./กก.
ของน้ำหนักตัวจะทำให้หลอดเลือดฝอยตีบตันทำให้เลือดหยุด เนื้อหนังเจริญดีขึ้น
มีฤทธิ์แรงกว่ารูติน (Rutin) และมีปริมาณวิตามินพี (Vitamin
P) ค่อนข้างสูง นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก
ที่แยกจากตัวของกระต่าย ทำให้จังหวะการบีบตัวลดลง
2. ดอกมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นได้
เคยใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค และสงบประสาท
เช่นเดียวกับต้น Tagetes minuta L. (T. glandif lora) ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย
มีฤทธิ์สงบประสาท ลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด หลอดลม และแก้อักเสบ
สารเคมีที่พบ
ช่อดอกมี Flavonoid glycosides, tagetiin 0.1%
และสารเรืองแสง Terthienyl 15-21 มก. / กก. ของดอกสด Helenien
74%, B-Carotene Flavoxanthin; Helenien มีคนกล่าวว่ามีผลทำให้เนื้อเยื่อตาดีขึ้น
ใบ มี Kaempferitrin เมล็ด
มีน้ำมัน
เภสัชตำรับของเม็กซิโก
เคยใช้ช่อดอกและใบต้มน้ำกิน ขับลม และขับปัสสาวะ
ในอินเดียน้ำคั้นจากช่อดอก
ใช้ฟอกเลือดและแก้ริดสีดวงทวาร
ในบราซิลใช้ช่อดอกชงน้ำแก้อาการปวดตามข้อ
หลอดลมอักเสบ ใบและช่อดอกชงน้ำกิน ใช้ขับพยาธิ ช่อดอกใช้ภายนอกในโรคตา
และแผลเรื้อรังต่าง ๆ ไปใช้พอกฝี ฝีฝักบัว น้ำคั้นจากใบใช้แก้ปวดหู
รากใช้เป็นยาระบาย
ในไทยใช้น้ำคั้นจากใบ
ผสมน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวจนส่วนน้ำระเหยหมดใช้ทาแผลเปื่อยเน่า ฝีต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น